ยินดีต้อนรับเข้าสู่เทศบาลตำบลสองแคว จังหวัดเชียงใหม่ วิสัยทัศน์ : สองแควสังคมแห่งการเรียนรู้ บ้านเมืองน่าอยู่ เชิดชูวัฒนธรรม ชุมชนร่วมพัฒนาโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น // คำขวัญ ตำบลสองแคว ขาน-ปิงร่วมสาย สายใยผูกพัน ร่วมแรงฝ่าฟัน สร้างสรรค์สองแคว
X ปิด


ร้องเรียนร้องทุกข์



คู่มือประชาชน

facebook

สำรวจความคิดเห็น

ระบบบันทึกสถิติการเกิดอุบัติเหตุ

ข่าวสารอาเซียน

ศูนย์ดำรงธรรม

ตรวจเช็คอีเมล



ระบบจัดการบริหารเว็บไซต์



ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 15/11/2561
วันนี้
19
เมื่อวานนี้
67
เดือนนี้
67
เดือนที่แล้ว
2,358
ปีนี้
6,419
ปีที่แล้ว
28,985
ทั้งหมด
84,559
ไอพี ของคุณ
3.238.134.157
วิสัยทัศน์และพันธกิจ

 

 

วิสัยทัศน์ (Vision) เทศบาลตำบลสองแคว

 

“สองแควสังคมแห่งการเรียนรู้ บ้านเมืองน่าอยู่ เชิดชูวัฒนธรรม
ชุมชนร่วมพัฒนา โดยภูมิปัญญาท้องถิ่น”

 

1. พัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้
        ปัจจุบันการพัฒนาเมืองให้ก้าวไกลทันต่อการเปลี่ยนแปลง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเทศบาล และรัฐบาลได้คำนึงถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก โดยการที่จะสามารถพัฒนาด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีคุณภาพ สิ่งที่สำคัญที่สุดจะต้องมีการพัฒนาการศึกษา ให้มีคุณภาพก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะวิทยาการสมัยใหม่ เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของเมืองให้สามารถแข่งขันในเวทีทั้งในระดับจังหวัด ประเทศ และระหว่างประเทศ ทั้งนี้เทศบาล จัดให้มีการพัฒนาด้านการศึกษาให้สามารถแข่งขันในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด หรือเสรีการค้าได้ ทั้งนี้ ยังคงรักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ และรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เช่น การลงทุนในพื้นที่ ดังนั้น จะต้องพัฒนาด้านการศึกษาคุณภาพประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพรองรับตลาดแรงงานดังกล่าว การลงทุนจะต้องเน้นให้สร้างรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก จึงจำเป็นต้องปรับทิศทางการพัฒนาการศึกษาอย่างทั่วถึง ต้องมีการจัดให้มีศูนย์ให้เกิดขึ้นในชุมชนกล่าวคือ

 

1) จัดให้มีระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษา และพัฒนาองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ
    

2) จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ให้แก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย และเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาให้แก่ประชาชนให้มีสิทธิทางการศึกษา และสิทธิในการเลือกที่จะเรียนรู้ตามความถนัดของตนเองอย่างเท่าเทียมกัน
   

3) ประชาชนได้รับการศึกษาตามหลักความรู้คู่คุณธรรม สามารถคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น นำตน นำคนและกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง เรียนรู้อย่างเท่าทันเหตุการณ์ สามารถนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับทั้งในระบบการศึกษา และนอกระบบการศึกษามาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ชุมชน สังคม และท้องถิ่นเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าของประเทศ

 

4) ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ประกอบด้วยห้องสมุดที่เป็นระบบ และมีหมวดหมู่ นักเรียน นักศึกษา ประชาชนสามารถศึกษาหาความรู้ ค้นคว้า วิจัยต่าง ๆ ได้ และมีห้องเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารได้อย่างกว้างขวาง สามารถปรับตัวเองได้ในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

 

5) ศูนย์เทคโนโลยีการเกษตร จะเป็นศูนย์รวมทางด้านความรู้ทางวิชาการ การพัฒนา ประชุม ฝึกอบรม สัมมนา สำหรับเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร เพื่อพัฒนาสินค้า ผลผลิตทางการเกษตรให้ได้มาตรฐาน

 

2. พัฒนาเมืองให้เป็นเมืองที่น่าอยู่
        ตำบลสองแคว เป็นชุมชนดั้งเดิม มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ผู้คนมีน้ำใจอัธยาศัยไมตรีงาม มีชุมชนเข้มแข็ง มีวัฒนธรรมความเชื่อ ประเพณีเป็นเอกลักษณ์ของตนเองสืบต่อกันมา มีความสงบร่มเย็น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสืบทอดมาแต่อดีต สิ่งเป็นทุนทางสังคมที่มีอยู่ แต่สภาพการพัฒนาความเจริญในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อสภาพความน่าอยู่ของตำบลสองแคว ที่เคยมีมา ดังนั้น การพัฒนาของเทศบาลในอนาคต จำต้องกำหนดพันธกิจด้านความเป็นเมืองที่อยู่เย็นเป็นสุขให้ชัดเจน ซึ่งหมายถึง

 

1) มีสถานที่และมาตรฐานการบริการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนทุกเพศ ทุกวัยตั้งแต่เกิดจนตาย รวมทั้งมีเครื่องมือที่ทันสมัยเพียงพอต่อการให้บริการแก่ประชาชน

 

2) ประชาชนได้รับการดูแลสุขภาพอย่างรอบด้าน มีการเฝ้าระวังโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และส่งเสริมประชาชนได้ตรวจสุขภาพประจำปี มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองให้สมบูรณ์ทั้งทางกายและจิตใจ

 

3)มีสวนสาธารณะและศูนย์การออกกำลังกายของประชาชนซึ่งเป็นสถานที่ออกกำลังกายของประชาชนที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ต้องจัดให้มีสถานที่ผ่อนคลายออกกำลังกายสำหรับประชาชนอย่างเพียงพอ

 

4) เป็นเมืองที่สวยงามสะอาดเรียบร้อย มีการวางผังเมืองให้เป็นระบบ ซึ่งมีความสะดวกสบาย การคมนาคมที่ดีมีถนนสะพาน ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการครบครัน ตลอดจนมีภูมิทัศน์สวยงามมีพื้นที่สีเขียวสร้างภูมิทัศน์ทางสายตามีสิ่งแวดล้อมที่ดี

 

5) หน่วยงานราชการ และเอกชนมีการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล

 

6) ประชาชนมีคุณธรรม ยึดมั่นในหลักพระธรรมคำสอนของศาสนา และมีความภูมิใจและรักในความเป็นท้องถิ่นและให้ความร่วมมือในการพัฒนา

 

3. พัฒนาเชิดชูวัฒนธรรม
      เทศบาลตำบลสองแคว ได้คำนึงถึงความเป็นชุมชนดั้งเดิมทั้งในทางกายภาพ อันหมายถึง สภาพทางภูมิศาสตร์ โบราณสถาน วัดดั้งเดิมของชุมชนต่าง ๆ แหล่งพื้นที่ที่เป็นประวัติศาสตร์ของชุมชน ตลอดจนอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัยอันทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรมเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เช่น อาคารแปดเหลี่ยม หรือห้างนาเจ้า บ้านบ๋าเก่าที่ค้นพบในชุมชน เป็นต้น จะต้องมีการอนุรักษ์ไว้ให้ชนรุ่นหลัง ดังนั้น การพัฒนาจะต้องคำนึงถึงความเป็นชุมชนสองแคว ดังกล่าว เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน จากความหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดังกล่าว ลักษณะการพัฒนาจะต้องมีกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรง ทั้งที่เป็นโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโครงการของรัฐบาล (โครงการขนาดใหญ่) และความยั่งยืนที่แท้จริงจะต้องประกอบไปด้วย

 

1) ส่งเสริมให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยทุกสาขาอาชีพดำเนินชีวิตตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักออม รู้จักใช้อย่างประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อตามสมัยบริโภคนิยม

 

2) ส่งเสริมประชาชนที่มีอาชีพทางการเกษตรดำเนินชีวิตตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่

 

3) ส่งเสริมและสร้างชุมชนให้เป็นสังคมแห่งความเอื้ออาทรต่อกันตามหลักศาสนา และส่งเสริมคนดีศรีสองแควให้เป็นแบบอย่างสร้างเครือข่ายให้ทั่วถึงในสังคมชุมชนทุกกลุ่มอายุ

 

4) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมเฉลิมพระชนมพรรษาหรือเฉลิมพระเกียรติในปีมหามงคลและโอกาสต่าง ๆ ทุกปี สร้างจิตสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และยึดความรู้รักสามัคคี และสมานฉันท์

 

5) มีกระบวนการตรวจสอบโปร่งใส และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อวิถีชีวิตของชุมชนในโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(เทศบาล) และของรัฐบาลทุกโครงการ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา

 

6) การดำเนินการก่อสร้าง หรือพัฒนาใด ๆ ของเทศบาลมีการวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่า และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตสถาบันครอบครัว ชุมชน ประเพณีความเชื่อของประชาชน

 

7) สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มและสนับสนุนกลุ่มพลังต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นในชุมชน และมีบทบาทแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาทุก ๆ ด้าน เช่น ด้านสังคม เศรษฐกิจ เป็นต้น โดยไม่ก่อให้เกิดความแตกแยกในชุมชน

 

8) การพัฒนาต้องคำนึงคนรุ่นหลังซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคนรุ่นต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะการพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ลดปริมาณขยะและป้องกันมลภาวะ

 

9) ส่งเสริมการพึ่งตนเอง ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นซึ่งสามารถส่งการดูแลให้คนรุ่นต่อไปได้และอยู่ได้ด้วยตนเอง รวมทั้งอาศัยผลที่งอกเงยอาศัยดอกผลที่จะใช้ต้นทุนให้หมดไป เช่น ใช้ทรัพยากรหมุนเวียนไม่เกินขีดความสามารถของธรรมชาติที่จะผลิตขึ้นทดแทนให้ใช้ใหม่ได้ เป็นต้น

 

4. อนุรักษ์และเชิดชูวัฒนธรรม และประเพณี
         ตำบลสองแคว เป็นชุมชนดั้งเดิมตามที่ได้กล่าวมา ดังนั้น การพัฒนาให้เป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณี จึงเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ ทั้งนี้ เพราะสังคมตำบลสองแคว มีทุนทางสังคมทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นกระจายทั่วทุกชุมชน ทั้งนี้ จะต้องดึงศักยภาพของทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ให้สามารถรวมกลุ่มกันขึ้น โดยเทศบาล ให้การสนับสนุนด้านสถานที่งบประมาณให้กลุ่มคลังสมองดังกล่าว มีบทบาทในการเผยแพร่ ถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นปัจจุบันให้สามารถเรียนรู้และถ่ายทอดต่อไปได้ ดังนั้น การพัฒนาเมืองให้มีเอกลักษณ์แห่งภูมิปัญญาทางศิลปวัฒนธรรม และประเพณี จะต้องมีความครอบคลุมและดำเนินการดังนี้

 

1) อนุรักษ์ และฟื้นฟูภูมิปัญญาทุกรูปแบบให้เข้าถึงวิถีชีวิตและพัฒนาให้มีความยั่งยืนรวมทั้งส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาทุกสาขา เช่น ค่าวจ้อย ดนตรีพื้นเมือง หัตถกรรม จักสาน เป็นต้น ให้แก่นักเรียน เยาวชนตามโครงการอุ้ยสอนหลาน

 

2) จัดให้มีการบริหารจัดการองค์ความรู้( KM) ด้านภูมิปัญญาอย่างเป็นระบบ

 

3) ประชาชนมีค่านิยมความเป็นวิถีชีวิตล้านนา ทั้งวัฒนธรรมภาษาพูด วัฒนธรรมการแต่งกาย วัฒนธรรมการอยู่ การกินได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย และสร้างเครือข่ายวัฒนธรรมทำหน้าที่เฝ้าระวังภูมิปัญญา ประเพณีไม่ให้ผิดเพี้ยนจากเดิม โดยอาศัยทรัพยากรทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นคลังสมองเป็นที่ยอมรับของชุมชนให้คำแนะนำปรึกษาในการจัดงานประเพณีต่าง ๆ ของเทศบาล หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

 

4) จัดให้มีข่วงวัฒนธรรม หรือลานวัฒนธรรมสำหรับเป็นเวทีแสดงของประชาชนในชุมชน และตามเทศบาลหรือโอกาสต่าง ๆ เช่น ประเพณียี่เป็ง ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ฯลฯ เป็นต้น

 

5) มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม เป็นเอกลักษณ์ศิลปะทั้งที่เป็นรูปธรรม เช่น ศิลปะการก่อสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยดั้งเดิมแบบล้านนา ศิลปะแหล่งโบราณสถาน วัด โบราณวัตถุที่มีมาแต่ดั้งเดิม ศิลปะการแสดงซึ่งสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษเป็นรุ่น ๆ ทั้งนี้ศิลปะเหล่านั้น ผสมผสานหรือแฝงไปด้วยวัฒนธรรมความเชื่อที่ทรงคุณค่ายิ่ง ควรแก่การอนุรักษ์ ปกป้อง สืบทอดไม่ให้สูญหายไปในคนยุคปัจจุบัน

 

6) เอกลักษณ์ทางประเพณี เป็นวิถีชีวิตที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาถือได้ว่าเป็นประเพณีแบบที่เกิดขึ้นในทุกระดับของหน่วยในสังคม เช่น ประเพณีระดับครัวเรือน หรือครอบครัว มีการบายศรีสู่ขวัญ บายศรีลูกแก้ว พิธีทำบุญงานศพ เป็นต้น ในประเพณีระดับกว้างหรือสังคมล้านนาทั่วไป เช่น ประเพณีสงกรานต์ (จะมีวิธีปฏิบัติในรายละเอียดในประเพณีเหล่านั้น เช่น การรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่) ประเพณีทางศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา ประเพณีวันลอยกระทง ประเพณีตานก๋วยสลาก ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ บวชนาค ฯลฯ ซึ่งมีมากมายในวิถีชีวิตของคนล้านนาจะต้องคงอยู่ต่อไป

 

7) ส่งเสริมการท่องเที่ยวหรือการพัฒนาจะต้องไม่ทำลายเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนภายใต้การสร้างพลังหรือภูมิต้านทานต่อวัฒนธรรมตะวันตกจากภายนอกในยุคการเปลี่ยนแปลงไร้ขีดจำกัดหรือยุคโลกาภิวัฒน์ เพื่อไม่ให้ถูกวัฒนธรรมตะวันตกครอบงำหรือดูดกลืนวัฒนธรรมประเพณีล้านนา

 


พันธกิจ (Mission)


1. จัดบริการสาธารณะโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้บริการประชาชน
2. พัฒนาและบริหารจัดการแหล่งน้ำ
3. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
4. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็ก สตรี คนชรา คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส
5. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและรักษาประเพณีอันดีงาม
6. ส่งเสริมให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
7. ส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารจัดการเพื่อบริการประชาชน
8. ส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการในการประกอบอาชีพให้ประชาชน
9. ส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชน
10. ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของ อปพร.