ยินดีต้อนรับเข้าสู่เทศบาลตำบลสองแคว จังหวัดเชียงใหม่ วิสัยทัศน์ : สองแควสังคมแห่งการเรียนรู้ บ้านเมืองน่าอยู่ เชิดชูวัฒนธรรม ชุมชนร่วมพัฒนาโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น // คำขวัญ ตำบลสองแคว ขาน-ปิงร่วมสาย สายใยผูกพัน ร่วมแรงฝ่าฟัน สร้างสรรค์สองแคว
X ปิด


ร้องเรียนร้องทุกข์



คู่มือประชาชน

facebook

สำรวจความคิดเห็น

ระบบบันทึกสถิติการเกิดอุบัติเหตุ

ข่าวสารอาเซียน

ศูนย์ดำรงธรรม

ตรวจเช็คอีเมล



ระบบจัดการบริหารเว็บไซต์



ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 15/11/2561
วันนี้
16
เมื่อวานนี้
41
เดือนนี้
2,363
เดือนที่แล้ว
2,947
ปีนี้
21,330
ปีที่แล้ว
28,985
ทั้งหมด
99,470
ไอพี ของคุณ
3.237.31.191
ข้อมูลพื้นฐานและสภาพทั่วไป

 

1. ด้านกายภาพ


1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล

(1) ที่ตั้ง และอาณาเขต
       ตำบลสองแคว เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกและมีพื้นที่ส่วนหนึ่งตั้งอยู่ค่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอดอยหล่อ ที่ตั้งของตำบลสองแคว ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 36 กิโลเมตร และห่างจากที่ว่าการอำเภอดอยหล่อ 8 กิโลเมตร

ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ ต.สันติสุข และ ต.ดอยหล่อ อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.ท่าวังพร้าว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ และอ.ป่าซาง จ.ลำพูน
ทิศใต้         ติดต่อกับ ต.ดอยหล่อ อ.ดอยหล่อ และ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
ทิศเหนือ      ติดต่อกับ ต.สันติสุข อ.ดอยหล่อ และ ต.ท่าวังพร้าว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

 

แผนที่แสดงพื้นที่เขตปกครองรายตำบลภายในอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่

 

                  

(2) เนื้อที่

ตำบลสองแคว  มีเนื้อที่ประมาณ  8.5 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ  5,818 ไร่

         

       1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

       สภาพของพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขาน ทางตอนเหนือมีความยาวประมาณ 2.5กิโลเมตร ไหลผ่านครอบคลุมพื้นที่ 4 หมู่บ้านคือ หมู่ที่ 1, หมู่ที่ 2, หมู่ที่ 3 และบางส่วนของพื้นที่ หมู่ที่ 4 ตำบลสองแคว และพื้นที่ทางตอนใต้ของตำบลเป็นที่ราบลุ่มน้ำปิง ไหลผ่านเป็นแนวยาวประมาณ 3 กิโลเมตร ซึ่งแม่น้ำสำคัญสองสายนี้ ไหลมาบรรจบกัน จึงเป็นที่มาของชื่อตำบลสองแคว สภาพพื้นที่ทางทิศตะวันตก และค่อนมาทางช่วงกลางของพื้นที่ตำบล จะมีลำเหมืองต่างๆ ไหลผ่าน ประมาณ 4 สาย เป็นทางน้ำที่หล่อเลี้ยงภาคเกษตร

 

        

      1.3  ลักษณะภูมิอากาศ

    ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื่น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู  ซึ่งมี 3 ฤดู ดังนี้

     ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม  อากาศร้อนและแห้งแร้ง  แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บ้างครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า “พายุฤดูร้อน” อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง 35 – 39.9 องศาเซลเซียส  ร้อนจัด  มีอุณหภูมิประมาณ  40  องศาเซลเซียสขึ้นไป

 

    ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม  แต่อาจเกิด“ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ 1 – 2 สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคม  แต่ในเขตเทศบาลไม่เคยเกิดอุทกภัยรุนแรง   มีฝนตกเฉลี่ยประมาณ  900  มิลลิเมตร 

 

   ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว 1-2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณภูมิต่ำสุด  ประมาณ  15 องศา  

 

         

      1.4 ลักษณะของดิน

      ดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนทรายมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ดังนั้นแหล่งน้ำกินน้ำใช้และน้ำเพื่อการเกษตรจะมีปัญหาเฉพาะช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือนมีนาคม  ถึงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี และประสบปัญหาน้ำท่วมเกือบทุกปีเนื่องจากเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะมีฝนตกมาก ทำให้น้ำแม่ขานและน้ำปิง มีระดับสูงขึ้นไหลระบายไม่ทัน ประกอบกับน้ำจากลำเหมืองต่างๆ ไหลทะลักเข้ามามีปริมาณมาก เกิดปัญหาน้ำท่วมสวน ไร่นา และบ้านเรือน  โดยเฉพาะปัญหาน้ำกัดเซาะชายตลิ่งอันเป็นแหล่งที่พักอาศัยเป็นที่ตั้งของอาคารบ้านเรือนตลอดแนวลำน้ำขาน

 

 

      1.5  ลักษณะของแหล่งน้ำ

      แหล่งน้ำกินน้ำใช้และน้ำเพื่อการเกษตรจะมีปัญหาเฉพาะช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี และประสบปัญหาน้ำท่วมเกือบทุกปีเนื่องจากเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะมีฝนตกมาก ทำให้น้ำแม่ขานและแม่น้ำปิง มีระดับสูงขึ้นไหลระบายไม่ทัน ประกอบกับน้ำจากลำเหมืองต่างๆ ไหลทะลักเข้ามามีปริมาณมาก เกิดปัญหาน้ำท่วมสวน ไร่นา และบ้านเรือน โดยเฉพาะปัญหาน้ำกัดเซาะชายตลิ่งอันเป็นแหล่งที่พักอาศัยเป็นที่ตั้งของอาคารบ้านเรือนตลอดแนวลำน้ำแม่ขาน

 

 

      1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้

     ในเขตเทศบาลไม่มีป่าไม้  แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น  ผลัดใบ 

         

            2.1 เขตการปกครอง

      ตำบลสองแควมีจำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลสองแควทั้งหมด 8 หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนพื้นที่ (ไร่)

1

2

3

4

5

6

7

8

บ้านแม่ขาน

บ้านทุ่งท้อ

บ้านท่ามะโอ

บ้านกลาง

บ้านสองแคว

บ้านหัวข่วง

บ้านป่าลาน

บ้านสามหลัง

471

497

62

595

715

1,128

610

1,180

   

         2.2 การเลือกตั้ง

                   เดิมเทศบาลได้แบ่งเขตการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีตำบลสองแคว  ทั้งเขตเทศบาลเป็น 1 เขตเลือกตั้ง  สมาชิกสภาออกเป็น  2  เขต ดังนี้

เขตเลือกตั้งที่ 1  ประกอบด้วย  หมู่ที่ 1 – หมู่ที่ 4   

 

เขตเลือกตั้งที่ 2  ประกอบด้วย  หมู่ที่ 5 – หมู่ที่ 8

 

      ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลสองแควส่วนใหญ่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองเสมอมาและประชาชนในเขตเทศบาลยังมีส่วนร่วมในการบริหารงาน  การช่วยเหลืองานเทศบาล เสนอแนะในกิจกรรมของเทศบาลในการดำเนินงานต่างๆ เช่น การประชุมประชาคมในการจัดแผนพัฒนาเทศบาลประชุมประชาคมแก้ไขปัญหาความยากจน ฯลฯ 

 

  การใช้สิทธิออกเสียงประชามติการให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช... ทั้งฉบับ และประเด็นเพิ่มเติมฯ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 อำเภอดอยหล่อ จำนวนผู้มีสิทธิ 21,447 คนมาใช้สิทธิ 16,867 คนรับร่าง 4,681 คนไม่รับร่าง 11,623 คนบัตรเสีย 563 บัตร ออกเสียงรวมร้อยละ 78.65 (ที่มา : ข้อมูลจากที่ว่าการปกครองอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่)

 

 

3. ประชากร

          3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

                   ประชากรทั้งสิ้น  4,923 คน  แยกเป็นชาย  2,376 คน  หญิง  2,547 คน 

มีความหนาแน่นเฉลี่ย 579 คน/ ตารางกิโลเมตร  แยกได้ดังนี้

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนประชากร

ครัวเรือน

ชาย

(คน)

หญิง

(คน)

รวม

(คน)

1

แม่ขาน

348

352

700

314

2

ทุ่งท้อ

206

243

449

169

3

ท่ามะโอ

327

366

693

247

4

กลาง

301

271

572

202

5

สองแคว

317

332

649

239

6

หัวข่วง

350

388

738

288

7

ป่าลาน

169

174

343

129

8

สามหลัง

358

421

779

376

รวม

2,376

2,547

4,923

1,964

หมายเหตุ ข้อมูลจากสำนักทะเบียนอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2559

         

          3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร

                   จำนวนประชากร จำแนกตามช่วงอายุ ปี 2559 ที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนในวันที่สำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ระดับตำบล ปี 2559 มีครัวเรือนทั้งหมด 1,569 ครัวเรือน  จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริงทั้งหมด 4,464 คน เพศชาย 2,159 คน เพศหญิง 2,305 คน มีครัวเรือนทั้งหมด 1,569 ครัวเรือน

          การจำแนกช่วงอายุของประชากร มีดังนี้

ช่วงอายุ

เพศชาย

เพศหญิง

รวม

(คน)

%

(คน)

%

(คน)

%

น้อยกว่า 1 ปีเต็ม

1 ปีเต็ม – 2 ปี

3 ปีเต็ม – 5 ปี

6 ปีเต็ม – 11 ปี

12 ปีเต็ม – 14 ปี

15 ปีเต็ม – 17 ปี

18 ปีเต็ม – 25 ปี

26 ปีเต็ม – 49 ปี

50 ปีเต็ม – 60 ปีเต็ม

มากกว่า 60 ปีเต็ม ขึ้นไป

2

9

23

87

33

52

230

721

503

496

0.09

0.42

1.20

4.03

1.53

2.41

10.65

33.40

23.30

22.97

1

17

31

82

32

50

217

720

581

574

0.04

0.74

1.34

3.56

1.39

2.17

9.41

31.24

25.21

24.90

3

26

57

169

65

102

447

1,441

1,084

1,070

0.07

0.58

1.28

3.79

1.46

2.28

10.01

32.28

24.28

23.97

 

2,159

100.00

2,305

100.00

4,464

100.00

หมายเหตุ  ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาชุมชน อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่  ณ  ปี 2559

 

4. สภาพทางสังคม

          4.1 การศึกษา

ระดับการศึกษา

เพศชาย

เพศหญิง

รวม

(คน)

%

(คน)

%

(คน)

%

ไม่เคยศึกษา

อนุบาล/ศูนย์เด็กเล็ก

ต่ำกว่าชั้นประถมศึกษา

จบชั้นประถมศึกษา (ป.4,ป.7,ป.6)

มัธยมศึกษาตอนต้น (มศ.1-3,ม.1-3)

มัธยมศึกษาตอนปลาย

(มศ.4-5,ม.4-6,ปวช)

อนุปริญญา หรือเทียบเท่า

ปริญาตรี หรือเทียบเท่า

สูงกว่าปริญญาตรี

20

44

69

1,015

345

309

 

125

224

8

0.93

2.04

3.20

47.0

15.98

14.31

 

5.79

10.38

0.37

34

48

77

1,226

243

278

 

93

300

6

1.48

2.08

3.34

53.19

10.54

12.06

 

4.03

13.02

0.26

54

92

146

2,241

588

587

 

218

524

14

1.21

2.06

3.27

50.20

13.17

13.15

 

4.88

11.74

0.31

 

2,159

100.00

2,305

100.00

4,464

100.00

หมายเหตุ  ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาชุมชน อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่  ณ  ปี 2559

 

ประชากรทั้งสิ้น  4,923 คน  แยกเป็นชาย  2,376 คน  หญิง  2,547 คน 

 

มีความหนาแน่นเฉลี่ย 479 คน/ ตารางกิโลเมตร  แยกได้ดังนี้

 

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนประชากร

ครัวเรือน

ชาย

(คน)

หญิง

(คน)

รวม

(คน)

1

แม่ขาน

348

352

700

314

2

ทุ่งท้อ

206

243

449

169

3

ท่ามะโอ

327

366

693

247

4

กลาง

301

271

572

202

5

สองแคว

317

332

649

239

6

หัวข่วง

350

388

738

288

7

ป่าลาน

169

174

343

129

8

สามหลัง

358

421

779

376

รวม

2,376

2,547

4,923

1,964

หมายเหตุ ข้อมูลจากสำนักทะเบียนอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2559